|
กิจกรรมการ มอบโต๊ะ-เก้าอี้ และของบริจาคที่จำเป็นอื่นๆ ที่ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา บ้านคะเนจือคี
หมู่ที่ 10 ต. สบโขง อ. อมก๋อย กำหนดช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2559
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา บ้านคะเนจือคี หมู่ที่ 10 ต. สบโขง อ. อมก๋อย
http://www.omkoi-nfe.com/home/hi ... on/group-17-juetha/
http://www.omkoi-nfe.com/home/hi ... %E0%B8%84%E0%B8%B5/
ประวัติศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านคะเนจือคี
บ้านคะเนจือคีมีศูนย์การเรียนสำหรับเป็นแหล่งเข้ามาศึกษาของเด็กนักเรียนและชาวบ้าน ศูนย์การเรียนได้มีการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 โดยสภาพอาคารเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ในการจัดการเรียนการสอนได้รับผู้เรียนที่เป็นเด็กอายุตั้งแต่ 3- 15 ปี ปัจจุบันมีผู้เรียนทั้งหมด 48 คน มีครูรับผิดชอบ 2 คน ในการจัดการศึกษาที่ผ่านมาไม่บรรลุผลสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากผู้เรียนยังไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยและฟังภาษาไทยได้ ทำให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปได้ช้าและส่วนหนึ่งคือการขาดความร่วมมือจากพ่อแม่เด็ก
ข้อมูลเบื้องต้น ของบ้านคะเนจือคี ครับ
บ้านคะเนจือคีมีศูนย์การเรียนสำหรับเป็นแหล่งเข้ามาศึกษาของเด็กนักเรียนและชาวบ้าน ศูนย์การเรียนได้มีการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 โดยสภาพอาคารเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ในการจัดการเรียนการสอนได้รับผู้เรียนที่เป็นเด็กอายุตั้งแต่ 3- 15 ปี ปัจจุบันมีผู้เรียนทั้งหมด 48 คน มีครูรับผิดชอบ 2 คน ในการจัดการศึกษาที่ผ่านมาไม่บรรลุผลสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากผู้เรียนยังไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยและฟังภาษาไทยได้ ทำให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปได้ช้าและส่วนหนึ่งคือการขาดความร่วมมือจากพ่อแม่เด็ก
บ้านคะเนจือคีเป็นหย่อมบ้านหนึ่งซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของหมู่ที่ 10 ต. สบโขง อ. อมก๋อย เดิมทีการเรียกชื่อบ้านคะเนจือคี ชาวบ้านจะเรียกว่าบ้าน “กะแนจือคี” ซึ่งแปลว่าน้ำผึ้งซึ่งต่อมาเมื่อมีบุคคลภายนอกเริ่มเข้ามาในชุมชน จึงมีการเรียกชื่อบ้านเป็นบ้านคะเนจือคีและใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน
บ้านคะเนจือคีเป็นชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง (สกอร์) มีจำนวนหลังคาเรือน 30 หลังคาเรือน มีจำนวนครอบครัว 32 ครอบครัวมีประชากรทั้งสิ้น 160 คน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านผาแดง
ทิศใต้ ติดกับ บ้านเมโลเด
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านคอทะ
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านจือทะ
สูงจากระดับน้ำทะเล ความสูง 447.5 เมตร พิกัด 17 ° 37 ’49.65 ” N 98 ° 08 ’00.88 ” E
ลักษณะภูมิประเทศ
บ้านคะเนจือคีมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงล้อมรอบ พื้นที่การตั้งหมู่บ้านค่อนข้างชัน โดยมีลำห้วยกะแนจือคีไหลอยู่ข้างล่างหมู่บ้าน ซึ่งลำห้วยดังกล่าวเป็นลำห้วยต้นน้ำที่ไหลลงไปสู่น้ำแม่หลอง ซึ่งชาวบ้านได้ใช้ลำห้วยดังกล่าวต่อทำเป็นประปาภูเขาใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภคในชุมชน โดยชุมชนจะมีน้ำใช้ตลอดปีอย่างพอพียง
การคมนาคม ใช้การเดินทางโดย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเดินเท้า โดยการเดินทางสามารถใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง คือ
เส้นทางจากตัวอำเภออมก๋อย- บ้านคะเนจือคี ระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตรสภาพถนนเป็นถนนลูกรังสลับถนนลาดยางเป็นบางส่วน การเดินทางสามารถนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ไปถึงบ้านราชา และเดินทางเท้าถึงบ้านคะเนจือคีใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ( ขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล) ซึ่งปัจจุบันได้มีการซ่อมแซมเป็นบางระยะ
เส้นทางจากตัวอำเภออมก๋อย – อ. แม่สะเรียง- อ.สบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะทางประมาณ 202 กิโลเมตร สภาพการเดินทางไปตามทางหลวงซึ่งส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยางและถนนซีเมนต์ โดยมีสภาพถนนลูกรังประมาณ 40 กิโลเมตร ปัจจุบันได้มีการซ่อมแซมทำให้การเดินทางสัญจรสะดวกขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในฤดูฝนก็จะมีอุปสรรคในการเดินทางเป็นอย่างมาก จึงต้องมีการเดินทางโดยเรือยนต์ของชาวบ้านเริ่มจากบ้านแม่เงา อ. สบเมย ใช้เวลาประมาณ3- 4 ชั่วโมง
สภาพทางด้านการปกครอง
ด้านการปกครอง มีผู้นำที่เป็นทางการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านจำนวน 1 คน คือ นายชิกวา เปือยโซ ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 ต. สบโขง อ. อมก๋อย ส่วนผู้นำตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่แล้วจะให้ความนับถือผู้ที่สูงอายุ และเป็นผู้นำศาสนา ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านคะเนจือคีจะนับถือศาสนาคริสต์ จึงมีผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชนบุคคลเดียวกัน
สาธารณูปโภคและสุขอนามัย
การสื่อสาร ชาวบ้านในชุมชนจะใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสาร (กะเหรี่ยง)
ไฟฟ้า ชาวบ้านคะเนจือคี ส่วนใหญ่ใช้ไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์ ) ศศช.ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์)
ประปา ประปาภูเขา
ห้องน้ำ ชาวบ้านในชุมชนจำนวน 16 หลังคาเรือนมีห้องน้ำใช้
ศศช.มีจำนวนห้องน้ำทั้งของครูและนักเรียนรวม 3 ห้อง
|
|